วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดในขณะนี้ จากการที่โรคมะเร็งปากมดลูกที่พบในผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านมและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า 50 % รวมถึงปัญหาโรคทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในผู้ชายอีกด้วย วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) คืออะไร?
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) เป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากเชื้อไวรัส HPV เป็นตัวการทำให้เซลล์ปากมดลูกเกิดการอักเสบเรื้อรังหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อไปแล้วประมาณ 5-10 วันและกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ซึ่งวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 90-100 % สำหรับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัส HPV แต่สำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อแล้ววัคซีนไม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ โดยวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- ชนิด 2 สายพันธุ์ เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันเฉพาะมะเร็งปากมดลูกที่มีสาเหตุจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18
- ชนิด 4 สายพันธุ์ สำหรับป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 รวมถึงสายพันธุ์ 6 และ 11 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่
- ชนิด 9 สายพันธุ์ ชนิดใหม่ที่มาปลายปี 2020 ซึ่งจะป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 รวมถึงสายพันธุ์ 6 และ 11
ควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) หรือไม่?
ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่ามะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงนั้น เกิดจากไวรัส HPV ซึ่งเป็น DNA ของไวรัสที่ได้รับมาจากการสัมผัสโดยตรงจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันพบได้มากกว่า 140 ชนิด โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเข้าสู่ระยะก่อนเป็นมะเร็งถึงเป็นมะเร็ง (High Risk HPV) ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 68, 35 และ 66
- กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ เป็นไวรัสที่ไม่ก่อมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ สายพันธุ์ 6 และ 11 แต่สามารถทำเกิดโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศและยังเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น เชื้อไวรัส HPV ยังเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งจากการมีเพศสัมพันธ์ด้วย เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก รวมถึงมะเร็งช่องปากและลำคอด้วย โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้เร็วขึ้นภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ซึ่งในปัจจุบันนี้ ยังไม่มียาฆ่าไวรัสหรือยาที่จะใช้กำจัดไวรัสได้ ดังนั้นการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV
ใครที่ควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) บ้าง?
ในการป้องกันเชื้อไวรัส HPV ควรได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุยังน้อย โดยแนะนำให้ฉีดทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 9-26 ปี โดยเน้นฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปี ทั้งหมด 3 เข็ม
- เข็มที่ 1 : ฉีดครั้งแรกในวันที่กำหนดเลือก
- เข็มที่ 2 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 1 – 2 เดือน
- เข็มที่ 3 : ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน
ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า 26 ปีขึ้นไปหรือในช่วงอายุ 27-45 ปี ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนสามารถฉีดได้ แต่วัคซีนอาจมีประสิทธิภาพน้อยลง เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ที่มีอายุวัยนี้มักได้รับเชื้อ HPV ไปแล้ว แต่จะยังสามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ ได้
ดังนั้น จึงควรเริ่มฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV) ตั้งแต่อายุยังน้อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เพราะนอกจากจะสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้แล้ว วัคซีนยังสามารถป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชาย รวมไปถึงโรคมะเร็งในส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งทุกปี เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติของสุขภาพ รวมถึงควรทำประกันสุขภาพไว้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายกรณีตรวจพบโรคมะเร็ง โดยเลือกประกันสุขภาพโรคร้ายแรงที่ครอบคลุมไปถึงโรคมะเร็งและโรคร้ายอื่นๆ กับ Rabbit Care ที่ให้ความคุ้มครองตั้งแต่ตรวจพบ ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทุกปีอีกด้วย โดยสามารถเปรียบเทียบแผนจ่ายออนไลน์โดยไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายได้ที่ https://rabbitcare.com/critical-illness-cancer